เคล็ดลับความปลอดภัยไซเบอร์สำหรับเด็ก 2023 การเลี้ยงเด็กๆ ในปัจจุบันกลายเป็นการเลี้ยงแบบดิจิทัล พวกเขาเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ตลอดเวลาผ่านสมาร์ทโฟน แล็ปท็อป และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ
ไม่ว่าพวกเขาจะไปที่ไหนอินเทอร์เน็ตก็ตามติดไปตลอดเวลา ทำให้ความปลอดภัยโลกไซเบอร์สำหรับเด็กกลายเป็นหัวข้อสำคัญมากขึ้น
การวิจัยแสดงให้เห็นว่าเด็ก และเยาวชนจำนวนมากเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา แต่ที่น่าเป็นห่วงมากกว่าคือ 40% ของเด็กเหล่านี้มักเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อนรวมถึงเรื่องความเป็นส่วนตัวทางออนไลน์
สิ่งนี้เป็นอันตราย แต่เด็กๆ ไม่เข้าใจความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ เรามีข้อแนะนำที่ออกแบบมาเพื่อช่วยลดความซับซ้อนของความปลอดภัยในโลกไซเบอร์สำหรับเด็กโดยเพียงแค่ทำ 7 สิ่งดังนี้
1. คุณต้องเรียนรู้ด้วยตัวเองก่อน
ก่อนที่คุณจะเริ่มสอนความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ให้กับเด็กๆ คุณต้องเข้าใจแนวคิดนี้เสียก่อน มีอันตรายมากมายที่เกี่ยวข้องกับการเล่นเว็บออนไลน์ แต่เป็นเรื่องยากที่จะอธิบาย แนะนำวิธีการเล่นที่ปลอดภัยสำหรับเด็กได้ หากคุณยังไม่เข้าใจดีพอ โดยแบ่งย่อยออกมาเป็น 3 กลุ่ม
- กลุ่มคนแปลกหน้า หลอกเอาข้อมูลจากเด็กเช่น รหัสผ่าน ข้อมูลการชำระเงิน และเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อนอื่น
- กลุ่มเพื่อน การละเมิด และการกลั่นแกล้ง เด็กอาจถูกกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตจากเพื่อนทั้งที่รู้จักและไม่รู้จัก
- ตัวของเด็กเอง การออนไลน์โดยไม่ได้รับการดูแล อาจดาวน์โหลดเนื้อหาที่เป็นอันตรายหรือเปิดลิงก์ที่เป็นอันตรายโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้ยังเป็นไปได้ว่าพวกเขาอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวบนแพลตฟอร์มสาธารณะโดยไม่ตั้งใจ
การรับรู้ถึงภัยคุกคามประเภทนี้สามารถช่วยให้คุณปกป้องเด็กๆ ในขณะที่เล่นเว็บได้ การให้ความรู้แก่ตัวเองยังช่วยให้พ่อแม่ และผู้ปกครองสามารถทำให้ดูเป็นตัวอย่างถึงวิธีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นวิธีที่ดีในการสอนเด็กๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ เก็บข้อมูลของคุณไว้กับตัวเอง และเลือกสิ่งที่คุณโพสต์อย่างรอบคอบ
- สร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่งและยาก
- ตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในบัญชีโซเชียลมีเดีย
2. กำหนดขอบเขตความปลอดภัย
ก่อนที่จะเข้าสู่โลกออนไลน์ สิ่งสำคัญคือต้องตั้งค่าขอบเขตความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตที่คุณตั้ง ขอบเขตความปลอดภัยที่คุณควรคำนึงถึงควรมีสิ่งเหล่านี้
- รหัสผ่านที่รัดกุมสำหรับเว็บไซต์ออนไลน์
- การป้องกันรหัสผ่าน
- ตั้งชื่อให้แตกต่างคาดเดาได้ยาก
- ไม่เปิดเผยกข้อมูลส่วนบุคคลทางออนไลน์
- การจำกัดเวลาอินเทอร์เน็ต
- สิทธิ์การใช้งานของแอป
เมื่อคุณกำหนดขอบเขตความปลอดภัยแล้ว คุณควรพยายามสร้างข้อจำกัดที่ยืดหยุ่นแต่ยังสามารถป้องกันได้ ให้ทำการตกลงร่วมกันภายในครอบครัว ข้อตกลงเหล่านี้จะทำให้ทุกคนรับผิดชอบต่อการกระทำออนไลน์ของตนเอง ซึ่งสามารถส่งเสริมการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย
3. ใช้วิธีการเชิงรุก
แม้ว่าโลกออนไลน์อาจเป็นอันตราย แต่ก็ไม่จำเป็นต้องขู่เด็กให้ออกห่างจากอินเทอร์เน็ตไม่ใช่แผนการที่ดีในการทำให้พวกเขาปลอดภัย ให้เน้นไปที่การสอนเด็กๆ ถึงวิธีรักษาตัวเองให้ปลอดภัยเวลาออนไลน์
การให้เด็กๆ รับผิดชอบต่อความปลอดภัยทางออนไลน์ของตนเอง อย่าคิดว่าเด็กๆ รู้อะไรเกี่ยวกับความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ การพูดคุยเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์จำเป็นต้องตระหนักถึงอันตรายและรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของตนเอง
4. สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย
แม้ว่าคุณจะมีมาตรการรักษาความปลอดภัย แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดหากสิ่งนี้เกิดขึ้น คุณต้อเป็นคนที่เด็กรู้สึกปลอดภัยที่จะคุยกับคุณได้ คุณสามารถตรวจสอบพฤติกรรมออนไลน์ของเด็กได้เป็นระยะๆ รวมถึงเตือนอันตรายของกิจกรรมออนไลน์ที่อาจเกิดขึ้น
5. ลงทุนด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์
การสอนเด็กๆ เกี่ยวกับความปลอดภัยในโลกไซเบอร์เป็นสิ่งสำคัญ แต่คุณควรตั้งค่าระบบป้องกันหรือลงทุนในเครื่องมือรักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยเพิ่มเติมเช่น
ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส ซึ่งสามารถแจ้งเตือน และหยุดมัลแวร์อันตรายก่อนสร้างความเสียหายให้กับระบบ
VPN ปกป้องผู้ใช้งานในขณะที่ใช้อินเทอร์เน็ต หรือเชื่อมต่อกับเครือข่ายในระบบสาธารณะ
ตัวจัดการรหัสผ่าน ช่วยป้องกันรหัสผ่านในแพลตฟอร์มต่างๆ
ตัวบล็อกเนื้อหา กำหนดว่าแอปหรือเว็บไซต์ใดที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้
6. สอนศัพท์ที่ควรรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยไซเบอร์
หากคุณกำลังสอนเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับเด็กในการเริ่มต้น ให้สอนคำศัพท์เกี่ยวกับความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ เช่น:
อาชญากรรมทางไซเบอร์: กิจกรรมออนไลน์ที่ผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่าย
ร่องรอยดิจิทัล: ข้อมูลที่ร่องรอยจากกิจกรรมออนไลน์ที่สามารถติดตาม ตรวจสอบได้
การเข้ารหัส: ระบบรหัสที่ใช้เพื่อป้องกันข้อมูลขณะเดินทางผ่านเครือข่ายหรือระบบ
ไฟร์วอลล์: ระบบที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต
Hacker: บุคคลที่เจาะเข้าไปในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์
อินเทอร์เน็ต: ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลก
Internet of Things (IOT): อุปกรณ์ใช้งานที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP): บริษัทที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต
ที่อยู่ IP: หมายเลขประจำตัวที่กำหนดสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แต่ละเครื่อง
มัลแวร์: ซอฟต์แวร์อันตรายประเภทหนึ่งที่เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
โมเด็ม: อุปกรณ์ที่ให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต
เราเตอร์: อุปกรณ์เครือข่ายเป็นกล่องขนาดเล็กที่เชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดไว้ในที่เดียว
ไวรัส: มัลแวร์ประเภทหนึ่งที่สามารถทำลายระบบเครือข่าย
7. เลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับวัย
ความปลอดภัยทางไซเบอร์อาจเป็นหัวข้อที่ซับซ้อน เด็กจำเป็นต้องเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เหมาะสมกับวัยเพื่อทำความเข้าใจความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ได้ดีที่สุด ยกตัวอย่างเช่น Cyber Quests Cyber Quests นำเสนอทางออนไลน์โดย US Cyber Challenge เป็นการแข่งขันที่ท้าทาย แม้ว่าภารกิจเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อระบุผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์รุ่นต่อไป แต่ก็ยังสามารถใช้เพื่อระบุส่วนที่เด็กเข้าใจแนวคิดด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ และส่วนไหนที่ควรปรับปรุงแก้ไข โดย Cyber Quest มุ่งเป้าไปที่เด็กวัยรุ่น
หากคุณประสบปัญหาในการติดตามข้อมูลเพื่ออัปเดทตัวซอฟต์แวร์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดบนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อทั้งหมดของคุณ ให้พิจารณาใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัส โซลูชันความปลอดภัยทางไซเบอร์ชั้นนำทึ่มีให้เลือกอยู่มากมาย และราคาไม่แพง เช่น Adaptive Defense 360 ที่นำมาโดยระบบ EDR สำหรับป้องกัน ransomware และภัยคุกคามทางไซเบอร์ทุกชนิด ไม่หน่วงเครื่อง ใช้ทรัพยากรเครื่องน้อยที่สุด พร้อมตัว Web Access Control ตั้งค่าการเข้าถึงเว็บไซต์ของเครื่องได้ตามช่วงเวลา หรือตั้งค่า blacklist , whitelist เป็นต้น หากท่านสนใจสามารถขอทดลองใช้ได้ฟรี 30 วัน
Credit https://www.pandasecurity.com/