PDPA คืออะไร และทำไมถึงต้องมี หลายคนอาจไม่เคยทราบว่า PDPA นั้นย่อมาจาก Personal Data Protection Act หรือ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ “บุคคลธรรมดา” ให้สิทธิในการแก้ไข, เข้าถึง หรือแจ้งลบข้อมูลที่ให้ไว้กับองค์กร
ความสำคัญของ PDPA
เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคที่ธุรกิจต่างต้องการข้อมูลลูกค้าเพื่อพัฒนาสินค้า และบริการ ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ , ที่อยู่ , เบอร์โทรศัพท์ , อีเมล ล้วนเป็น “ข้อมูลส่วนบุคคล” เพราะฉะนั้นต้องใช้กฎหมายป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลลูกค้า เพื่อความน่าเชื่อถือ และได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าด้วย
การโจมตีทางไซเบอร์ตัวเร่งสำคัญในการบังคับใช้กฏหมาย
นอกจากข้อมูลส่วนบุคคล ที่บริษัท และองค์กรต้องการเพื่อนำไปพัฒนาต่อยอด ในด้านการบริการ การตลาด และอื่นๆ ยังมีอีกด้านนึงที่แฮกเกอร์โจมตีเข้ามาเพื่อขโมยข้อมูลสำคัญนำไปขายในตลาดมืด หรือเข้ารหัสข้อมูลเพื่อเรียกค่าไถ่เป็นต้น
วิธีป้องกัน
การป้องกันภัยคุกคามมีความสำคัญต่อการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของบริษัท เนื่องจากเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มการป้องกันเชิงรุกโดยเพิ่มระดับการป้องกันให้มากชั้นขึ้นกว่าเดิม เมื่อผู้โจมตีทางไซเบอร์มีลูกเล่นมากขึ้น โซลูชันที่เราใช้เพื่อหยุดพวกเขาก็พัฒนาขึ้นตามมาอย่างรวดเร็ว
Heimdal™ ได้รับการอัปเดตอยู่เสมอเพื่อให้การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นรุ่นล่าสุด คุณภาพที่แสดงให้เห็นผ่านผลิตภัณฑ์ Threat Prevention Endpoint ที่ได้รับรางวัลใช้ Machine Learning, ข้อมูลอาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต และ AI เพื่อป้องกันภัยคุกคามในอนาคตด้วยความแม่นยำ 96% หากท่านสนใจทดลองใช้สามารถติดต่อทีมงานเพื่อขอทดลองใช้ได้ฟรี 30 วัน
PDPA คืออะไร และทำไมถึงต้องมี เนื่องจากกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีผลบังคับใช้ในช่วงกลางปีนี้ หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าควรเริ่มต้นอย่างไรเกี่ยวกับตัว PDPA ทางบริษัทเรายินดีให้คำปรึกษาด้าน PDPA ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญคอยวิเคราะห์ให้ตั้งแต่โครงสร้างของ workflow ระบบภายใน จนไปถึงรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ละเอียดอ่อน
โดยบริษัทได้จับมือกับพาร์ทเนอร์ร่วมจัดอบรมหลักสูตร พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เวลา 9:30 – 12:30 วันที่ 1 เมษายน 2565
สมัครลงทะเบียนฟรี
เหมาะสำหรับใคร
- พนักงานบริษัทเอกชน
- คนที่อยากเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO: Data Protection Officer)
- ฝ่ายกฎหมาย (Legal Department) หรือ ฝ่ายกำกับดูและเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย (Compliance Department)
- ฝ่ายบุคคล (HR Department)
- ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Department)
- ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด และฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
- ฝ่ายที่มีการปฏิบัติงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล
ประโยชน์ของหลักสูตร Fundamental of Personal Data Protection (PDPA)
- ที่มาที่ไปของ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- ใครเป็นผู้ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- กฎหมายฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับใคร
- หากมีปัญหาเกิดขึ้น องค์กร จะถูกลงโทษอย่างไร
- องค์กร/ผู้ควบคุมข้อมูล ต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวอย่างไร
รายละเอียดหลักสูตร Fundamental of Personal Data Protection (PDPA)
- ที่มาและเจตนารมณ์ของกฎหมาย
- การบังคับใช้กฎหมาย
- นิยามเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล/ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล/ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
- ข้อมูลส่วนบุคคล, นิยาม, และประเภท
- หลักกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- ฐานทางกฎหมายในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
- หน้าที่ตามกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล และเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)
- สิทธิเจ้าของข้อมูล
- ความรับผิดชอบ โทษ
- สิ่งที่องค์กรต้องเตรียม